หรือพระสมุทรเจดีย์ ถือเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง… พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ? ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์ขึ้น และแล้วเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแรกสร้างเป็นเจดีย์ทรงระฆังย่อมุมไม้สิบสอง สูง 27.75? เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ต่อมาถูกคนร้ายขโมยไป ล่วงถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชประสงค์ให้สร้างเจดีย์ให้สูงใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อความสง่างามและเป็นจุดหมายตาสำหรับเรือสินค้าของชาวต่างชาติว่ามาถึง สยามแล้ว จึงมีการสร้างเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ สูง 39.75 เมตร ครอบทับพระเจดีย์องค์เดิม ดังที่เห็นในปัจจุบัน คำเรียก ?พระเจดีย์กลางน้ำ? นั้นมาจากเดิมพระเจดีย์ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาชายตลิ่งตื้นเขินงอกเป็นแผ่นดินออกมาเชื่อมกับเกาะอันเป็นที่ตั้งของ พระสมุทรเจดีย์เกาะดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไปแต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกพระเจดีย์กลางน้ำดังเดิมทุกๆปีจะมีการจัดงานนมัสการพระสมุทรเจดีย์โดยกำหนดเอาวันแรม? 5 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันเริ่มงาน ก่อนเริ่มงานประมาณวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชายหญิงพร้อมใจกันเย็บผ้าแดงผืนใหญ่ แล้วอัญเชิญผ้าแดงตั้งบนบุษบกแห่ไปรอบๆตัวเมืองและนำลงเรือแห่ไปตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงอำเภอพระประแดงเพื่อให้ชาวอำเภอพระประแดงร่วมอนุโมทนา จากนั้นจึงแห่กลับมาทำพิธีทักษิณาวรรตรอบองค์พระสมุทรเจดีย์ก่อนนำผ้าขึ้นห่มองค์พระสมุทรเจดีย์

2.ประเพณีรับบัว โยนบัว
เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11การจัดงานประกอบด้วยการนมัสการและขบวนแห่หลวงพ่อโตทั้งทางบกและทางน้ำการแข่งขันกิจกรรมพื้นบ้าน
อาทิการจัดพานดอกบัวมีการประกวดเรือประเภทต่างๆ และการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงเรือในช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะเป็นงานประเพณีการรับบัวหรือโยนบัว โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่พระพุทธรูปจำลองของหลวงพ่อโต ในขณะเดียวกันชาวบางพลีก็จะโยนบัวให้กับคนต่างบ้านที่พายเรือมาเที่ยวด้วยเพื่อเป็นการทำบุญร่วมกันในปี 2551 นี้ จัดวันที่ 10-13 ตุลาคม ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลีและวัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต) จ.สมุทรปราการ

3.งานนมัสการหลวงพ่อปาน
งานนมัสการหลวงพ่อปานถือเป็นงานประจำปีของชาวอำเภอบางบ่อ งานนี้เกิดขึ้นจากคุณความดีแลคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อปาน พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลกันมาวัดมงคลโคธาวาส
เพื่อนมัสการรูปหล่อจำลองของหลวงพ่อปานทุกปีงานนมัสการหลวงพ่อปานจัดขึ้นในวันขึ้น ๕-๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ของปี รวม ๓ วัน ๓ คืน โดยในวันแรกของงานจะมีการอันเชิญรูปหล่อของหลวงพ่อปานแห่ทางเรือไปตามลำคลองปีกกา เพื่อให้ประชาชนสักการะแล้วแห่กลับวัดมงคลโคธาวาสหลังจากเสร็จสิ้นการกราบไหว้บูชาแล้วประชาชนจะสนุกสนานรื่นเริงกับมหรสพต่าง ๆ

4.งานประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ
ธงตะขาบเป็นประเพณีของอำเภอพระประแดงโดยเฉพาะประเพณีเริ่มต้นมานานกว่า ๓๐ ปี จะจัดขึ้นทุกวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปีโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษชาวมอญ หงส์ เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนตำนานการกำเนิดถิ่นฐานของมอญ ณ กรุงหงสาวดี และตะขาบเป็นสัญลักษณ์ของคติธรรมความเชื่อทางพุทธศาสนาที่เปรียบดังสัดส่วนในอวัยวะต่างๆของตัวตะขาบชาวมอญทั้ง ๗ หมู่บ้าน จะร่วมกันจัดทำธงตะขาบของหมู่บ้านตนและหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพโดยมารวมตัวกันที่ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอพระประแดงตั้งขบวนแห่ไปตามจุดต่างๆของตลาดพระประแดงหลังจากเสร็จการแห่ชาวมอญแต่ละหมู่บ้านก็จะนำธงตะขาบไปแขวนที่เสาหงส์ของแต่ละวัดในหมู่บ้าน

5.งานแห่เจ้าพ่อทัพสำโรง
ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในตำบลสำโรงเหนืออำเภอเมืองสมุทรปราการเชื่อว่าเจ้าพ่อทัพช่วยให้พวกเขาสร้างฐานะจนร่ำรวยจากการทำมาหากิน พวกเขาจึงได้สร้างศาลเจ้าพ่อทัพไว้เป็นที่สักการบูชา ทุกปีจะมีการจัดงานแห่เจ้าพ่อทัพที่ข้างห้างอิมพิเรียลเวิลด์ สำโรงในวันอาทิตย์ราวปลายเดือนมกราคม ถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ในขบวนแห่ประกอบด้วยวงดุริยางค์ของโรงเรียนมัธยมด่านสำโรงเป็นขบวนนำตามด้วยขบวนอื่นๆโดยขบวนจะแห่ผ่านถนนสุขุมวิทและวกกลับไปทางถนนปู่เจ้าสมิงพรายกลับไปยังศาลเจ้าพ่อทัพเมื่อขบวนเหล่านั้นผ่านร้านค้า เจ้าของร้านจะออกมาต้อนรับด้วยการบริจาคเงินร่วมทำบุญ มีการจัดงานเฉลิมฉลอง ๓ วัน ๓ คืนในงานมีการเล่นงิ้ว

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น